LOVE ME LOVE MY DOG        

  

ว่าด้วยเรื่องของ พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์

ว่าด้วยเรื่องของ พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์

พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ฉบับแรกของประเทศไทย 

(27 ธ.ค.)  เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2557 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป ถือเป็น ฉบับแรกของประเทศไทย โดยมีใจความดังนี้ 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้

โดยในหมวด ๕ การป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ 

มาตรา ๒๐ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทําการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร (ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ)

มาตรา ๒๑ การกระทําดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา ๒๐

(๑) การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร เฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร

(๒) การฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจําหน่ายเนื้อสัตว์

(๓) การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์

(๔) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็นว่าสัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บและไม่สามารถ เยียวยา หรือรักษาให้มีชีวิตอยู่รอดได้โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน

(๕) การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมความเชื่อทางศาสนา

(๖) การฆ่าสัตว์เพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน

(๗) การกระทําใดๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์

(๘) การตัด หู หาง ขน เขา หรืองาโดยมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ หรือการดำรงชีวิตของสัตว์

(๙) การจัดให้มีการต่อสู้ของสัตว์ตามประเพณีท้องถิ่น

(๑๐) การกระทำอื่นใดที่มีกฎหมายกำหนดให้สามารถกระทำได้เป็นการเฉพาะ

(๑๑) การกระทำอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

มาตรา ๒๒,๒๓,๒๔ เจ้าของสัตว์ต้องดำเนินการจัด สวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ของตนให้เหมาะสม(มีสุขภาพ อนามัยที่ดี มีที่อยู่ อาหาร และน้ำอย่างเพียงพอ), ห้ามปล่อย ละทิ้งให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตน โดยไม่มีเหตุอันสมควรยกเว้นฝากผู้อื่นดูแลแทน, การขนส่งสัตว์ หรือการนำสัตว์ไปใช้งานหรือใช้ ในการแสดงจะต้องจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้เหมาะสม ฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 4หมื่นบาท

มาตรา ๒๕ อำนาจของเข้าหน้าที่(ตร.) ตามพ.ร.บ. สั่งเจ้าของ ให้มาชี้แจง ให้ส่งเอกสารเพื่อพิจารณา เข้าไปตรวจสอบสถานที่ใดๆ(ต้องมีหมายค้นเว้นแต่ มีเหตุอันควรเชื่อว่า หากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้น มาได้ จะมีการยักย้าย ซุกซ่อน หรือทำลายหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ให้ดำเนินการค้น ได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่ต้องปฏิบัติตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการค้น) สั่งหยุดพาหนะ ยึด อายัดสัตว์ ซากสัตว์ เอกสาร หลักฐาน ยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ มีอาำนาจ ตรวจรักษา(ทำโดยสัตวแพทย์) ช่วยเหลือสัตว์ ที่ได้รับแจ้งว่ามีการทารุณกรรมสัตว์

มาตรา ๓๓ กรณีที่ศาลได้พิพากษาลงโทษผู้ใดตาม หากศาลเห็นว่าการให้สัตว์นั้นยังอยู่ในความครอบครอง ของเจ้าของหรือของผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป สัตว์นั้น อาจจะถูกทารุณกรรมหรือได้รับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ที่ไม่เหมาะสมอีก ศาลอาจสั่งห้ามมิให้เจ้าของหรือ ผู้กระทำความผิดนั้นครอบครองสัตว์ดังกล่าว และมอบ ให้หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่เห็นสมควรเป็นผู้ ครอบครองหรือดูแลสัตว์นั้นต่อไป

มาตรา ๓๕ ชำระค่าปรับภายใน 15 วันคดีอาญาจะสิ้นสุดด้วยหากเกินระยะเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีต่อไป

“การทารุณกรรมสัตว์”

การกระทำหรืองดเว้นการกระทำใดๆ ที่ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน ไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความ เจ็บปวด เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจ มีผลทำให้สัตว์นั้นตาย รวมถึงการใช้สัตว์ พิการพิการ เจ็บป่วย ชรา หรือสัตว์ที่กำลัง ตั้งท้องเพื่อแสวงหาประโยชน์ ใช้สัตว์ประกอบกามกิจ(มีเซ็กส์) ใช้สัตว์ทำงาน จนเกินสมควรหรือใช้ให้ทำงานอันไม่สมควร เพราะเหตุที่สัตว์นั้นเจ็บป่วยชราหรืออ่อนอายุ

 

ตัวอย่างการกระทำผิด

** หมากัดเราตีได้ถือเว่ามีเหตุอันควรแม้ว่าเราจะไม่ใช่เจ้าของหมาก็ตาม แต่หากหมากัดไปหลายวันแล้วเราเพิ่งมาแค้นเลยมาทำร้ายตีหมาถือว่าไม่มีเหตุอันควร เข้าข่ายการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา 20

** เด็กหรือลูกของเราอยู่ๆเดินมาเอาไม้ตี เอาหินโยนใส่หมา ใส่เป็ด ใส่ไก่ เอาเชื่อกรัดคอ สัตว์ต่างๆถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์เช่นกัน แม้จะเป็นสัตว์เลี้ยงของเราเองก็ผิด ตามมาตรา 20 เรื่องการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันควร

** การปล่อยหมาให้ไปไล่เห่าทำทีท่าจะไล่กัดชาวบ้านที่เดินผ่านไปผ่านมา หรือขับขี่รถ ผ่านมาแล้วโดนหมาไล่กัดข้างนอกบ้านโดยที่เจ้าของไม่สนใจห้ามปราม เจ้าของ มีความผิดตามมาตรา 23 ฐานละทิ้งให้สัตว์พ้นจากการดูแลโดยไม่มีเหตุอันควร

ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อ พ.ร.บ. แบบสรุปย่อส่วนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไป คุณสามรถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ราชกิจจานุเบกษา

พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การเลี้ยงสุนัขควบคุมพิเศษ
การเลี้ยงสุนัขควบคุมพิเศษ อ่านเพิ่มเติม
ตารางเปรียบเทียบวิธีการกับจัดเห็บ
ตารางเปรียบเทียบวิธีการกับจัดเห็บ อ่านเพิ่มเติม
หมาติดเห็บทำยังไงดี
หมาติดเห็บทำยังไงดี อ่านเพิ่มเติม
ดูแลน้องหมายังไง...ในหน้าร้อน
ดูแลน้องหมายังไง...ในหน้าร้อน อ่านเพิ่มเติม